วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศ 5

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสาร

            ปัจจุบันการสื่อสาร (Communication) ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ในสังคม ดังจะเห็นได้ว่าทุกยุคทุกสมัย มนุษย์มักใช้การสื่อสารเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมกับผู้อื่น เพราะการสื่อสารเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกของคนๆ หนึ่งไปยังคนอีกคนหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ดังการให้นิยามความความหมายของการสื่อสารไว้มากมายดังนี้

ความหมายของการสื่อสาร
            การสื่อสาร (Communication) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน Communicate ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Communicate ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่า Make Common หมายถึง ทำให้มีสภาพร่วมกัน ซึ่งเป็นความหมายที่ตรงกับธรรมชาติของการสื่อสาร คือ การทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ตรงกัน กล่าวคือ มนุษย์มีการสื่อสารซึ่งกันและกันก็เพื่อเข้าใจให้ตรงกันนั้นเอง ดังนั้นการนิยามความหมายคำว่า การสื่อสารจึงเป็นการนิยามที่ตั้งอยู่บนรากฐานของรากศัพท์เดิม คือ ความเข้าใจร่วมกัน (สมควร  กวียะ บ...2)
            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2525 (2530, .825) ให้ความหมายไว้ว่า การสื่อสารหมายถึง การนำหนังสือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการสื่อสารไว้อีกหลายคน ดังนี้ จอร์จ เกิร์บเนอร์ (George Gerbner) กล่าวว่า การสื่อสารคือ การแสดงปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social interaction) ด้วยการใช้สัญลักษณ์และระบบสาร (message system) หรือ เบเรลสันและสตายเนอร์ (Berelson & Steiner) นิยามการสื่อสารว่าเป็น พฤติกรรม” (act) หรือกระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ทักษะ ฯลฯ โดยการใช้สัญลักษณ์ ซึ่งอาจเป็นคำพูด หนังสือ ภาพ ตัวเลข กราฟ ฯลฯ (พัชนี  เชยจรรยา, 2538, .3)
            ชาร์ล อี ออสกูด (Charles E.Osgood) ให้คำนิยามการสื่อสารว่า โดยความหมายอย่างกว้าง การสื่อสารเกิดขึ้นเมื่อระบบหนึ่งซึ่งเป็นแหล่งสารมีอิทธิพลเหนืออีกระบบหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง โดยอาศัยวิธีการควบคุมสัญญาณต่างๆ ที่สามารถส่งออกไปตามสื่อ (Charles E.Osgood, A Vocabulary for Talking about Communication)
            คล็อด แชนนอน และวอร์แรน วีเวอร์ (Claude Shanon and Warren Weaver) กล่าวถึงการสื่อสารว่า คำว่าการสื่อสาสร ในที่นี้มีความหมายกว้างคลุมไปถึงวิธีการทั้งหมดที่ทำให้จิตใจของบุคคลหนึ่งกระทบจิตใจของอีกคนหนึ่งมีผลกระทบจิตใจของอีกคนหนึ่ง การปฏิบัติได้รวมไปถึงพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ได้แก่ การเขียน การพูด ดนตรี ศิลปรูปภาพ การละคร ระบำ ในบางกรณี อาจใช้นิยามการสื่อสารที่กว้างกว่านี้ก็ได้ โดยการสื่อสาร หมายถึง การปฏิบัติทั้งหลายเพื่อให้กลไกลอย่างหนึ่ง (เช่น เครื่องมืออัตโนมัติสามารถบอกตำแหน่งเครื่องบินและสามารถคำนาณบอกตำแหน่งของเครื่องบินในเวลาอนาคตได้) ทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อกลไกอีกอย่างหนึ่งได้ (เช่น จรวดนำวิถี ขับไล่เครื่องบิน) (ยุพา  สุภากุล, 2540, .4X
            วิลเบอร์ ชแรม์ม (Wibur Schramm) กล่าวว่าการสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนสัญญาณข่าวสารระหว่างบุคคล….ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Wibur Schramm and Donald F.Roberts, 1971 : p13)
            พัชนี เชยจรรยา และคณะได้สรุปความหมาย นิยาม ของการสื่อสารไว้กว้างๆ ดังนี้
            1. การสื่อสารเป็นพฤติกรรม (act) หรือกระบวนการ (process)
            นักวิชาการบางกลุ่มนิยามการสื่อสารเป็นเพียงพฤติกรรมหนึ่งๆ ที่สามารถสื่อความหมายหรือมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น ขณะที่บางกลุ่มมองว่าการสื่อสารเป็นกระบวนการถ่ายทอดสาร (message) จากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง
            2. การสื่อสารจะต้องกระทำขึ้นอย่างตั้งใจหรือไม่
            นักวิชาการบางท่าน เช่น มิลเลอร์ (Miller) กล่าวว่า การศึกษาเกี่ยวกับระบบการสื่อสารอย่างถูกต้องเหมาะสมนั้น ควรมุ่งสนใจเฉพาะสถานการณ์สื่อสารซึ่งผู้ส่งสาร (sender) มีเจตจำนง (conscious intent) ที่จะถ่ายทอดสารให้มีผลต่อพฤติกรรมของผู้รับสารในทางหนึ่งทางใดฉะนั้น การที่คนหนึ่งเดินใจลอยจึงไม่ใช่การสื่อสาร แม้ว่าผู้พบเห็นสามารถตีความหมายหรือรู้สึกอะไรบางอย่างต่อการแสดงออกนั้น ซึ่งสอดคล้องกับหลักทางพุทธศาสนาว่าสื่อสารใดที่เกิดโดยไม่ตั้งใจ เรียกว่า อุบัติเหตุหรือเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งเท่านั้น
            3. การสื่อสารกระทำโดยผ่านภาษา (language) อย่างเดียวหรือไม่
            คำนิยามส่วนมากที่พบทางนิเทศศาสตร์เน้นการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งอาศัยภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนที่เรียกว่า วัจนภาษา (verbal language) หรือภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำหรือหนังสือ แต่เป็นสิ่งอื่นๆ ซึ่งสามารถแสดงความหมายได้ เช่น การแสดงกิริยาท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง ฯลฯ ซึ่งเรียกว่า อวัจนภาษา” (nonverbal  language) ขณะที่มีนักวิชาการบางกลุ่ม เช่น วอร์เรน ดับบลิว วีเวอร์ (Warren W.Weaver) รวมเอาดนตรี ภาพ การแสดง และวัตถุสิ่งของอื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นสัญลักษณ์เข้าไว้ในนิยามของการสื่อสารด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น